ยินดีต้อนรับสู่เวบบล็อกการใช้งานซอฟต์แวร์สำหรับการติดตามรถยนต์ GPS TRACKER ที่มีการอัพเดทข้อมูลการใช้งานกันเป็นประจำอย่างสม่ำเสมอ ตามความต้องการใช้งานสำหรับวันนี้เราจะไปดูกราฟวัดระดับน้ำมันเชื้อเพลิงกัน ต้องทำยังไง ตามธรรมดาการตรวจสอบการใช้งานปริมาณน้ำมันเชื้อเพลิงถือว่าเป็นขั้นตอนที่ค่อนข้างยุ่งยากและซับซ้อนมาก
ขั้นตอนที่ 1 หลังจากล็อกอินเข้าสู่ระบบเรียบร้อยแล้วให้เลือกไปที่เมนูหน้าต่าง --> Graph ตามตัวอย่าง
ขั้นตอนที่ 2 เมื่อหน้าต่างกราฟขึ้นมาแล้วให้เลือกตามรายละเอียดดังนี้ Vehicle--> ทะเบียนรถคันที่ต้องการตรวจสอบ Field A --> ระดับเชื้อเพลิง ส่วน Field B ให้ว่างไว้ ชนิดของกราฟ Graph Type --> Step และเลือกวันที่ Date กดไปที่ Draw จากนั้นรอสักครู่เพื่อให้ระบบสร้างกราฟให้ ขั้นตอนนี้อาจต้องใช้เวลาค่อนข้างมากในการประมวลผล
ขั้นตอนที่ 3 หลังจากได้กราฟออกมาลองมาวิเคราะห์การใช้น้ำมันเชื้อเพลิงดูว่า มีการเติมน้ำมันเชื้อเพลิงเพิ่มเติมเข้าไปประมาณกี่ลิตรในแต่ละวัน ขั้นตอนการตรวจสอบสามารถทำได้โดยไม่ยาก แต่การวิเคราะห์ข้อมูลจากกราฟต้องอาศัยประสพการณ์ในการตรวจสอบสักเล็กน้อย แต่หากติดตามและวิเคราะห์กันอย่างสม่ำเสมอสามารถทำงานได้เองโดยไม่ยุ่งยาก
จากกราฟจะเห็นว่าในวันที่ 30 พฤศจิกายน เวลา 09:56:47 นาฬิกามีระดับน้ำมันเชื้อเพลิงก่อนเติมอยู่ที่ประมาณ 178 ลิตร หลังจากเติมน้ำมันไปจนถึงเวลา 10:04:17 นาฬิกา ระดับน้ำมันเพิ่มขึ้นไปอยู่ที่ 200 ลิตร หรือเติมน้ำมันเชื้อเพลิงไปทั้งสิ้นประมาณ 22 ลิตร จะสังเกตว่ารถยนต์คันนี้จะมีการเติมน้ำมันในแต่ละเที่ยวเป็นประจำทุก ๆ วัน โดยระยะทางที่วิ่งได้ของแต่ละวันเราสามารถวัดได้จากระบบซอฟต์แวร์นั่นเอง
สำหรับกราฟน้ำมันทำให้เราสามารถสรุปได้ว่ารถยนต์คันที่เราต้องการตรวจสอบมีการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงไปประมาณกี่ลิตรและมีการเติมน้ำมันกลับเป็นจำนวนกี่ลิตรโดยอาศัยกราฟน้ำมันในการตรวจสอบ ทำให้สามารถวิเคราะห์และตรวจสอบรถยนต์ทุกคันที่ติดตั้งอุปกรณ์จีพีเอสติดตามรถยนต์ สำหรับตัวอย่างที่ผู้เขียนได้นำมาบอกเล่าบทความในวันนี้เป็นอุปกรณ์เกรดเอของเราคือ Ruptela FM-Eco4+ นำเข้าจากยุโรปโดยตรงมีคุณภาพดีมาก แถมราคาประหยัด
Thailand GPS Tracker Report คู่มือการใช้รายงาน จีพีเอสติดตามรถยนต์ โดย ไทย พรอสเพอรัส ไอที ผู้นำด้านการให้บริการ ระบบติดตามรถ สินค้าดี ราคาถูก คุณภาพเด่น ใช้งานได้จริง ประสิทธิภาพสูงสุด ประหยัดสุด นำเข้าจากยุโรป ผ่านมาตรฐานทั่วโลก
- Home
- Reports
- ดูกราฟวัดระดับน้ำมันเชื้อเพลิง ต้องทำยังไง
- แจ้งเตือนเคลื่อนที่เข้ากรอบพื้นที่ ตอนที่ 1
- แจ้งเตือนเคลื่อนที่เข้ากรอบพื้นที่ ตอนที่ 2
- สร้างบัญชีรายชื่อผู้ใช้ใหม่เฉพาะกลุ่มตัวเองเท่านั้น
- กำหนดจุดสนใจ(POI)บนแผนที่ทำยังไง
- วิธีการจัดกลุ่มเพื่อให้ง่ายต่อการตรวจสอบ
- สร้างกฎเกณฑ์เหตุการณ์การเข้าออกสถานี
- ออกรายงานใช้รถยนต์TR2001TH FUEL
- สั่งตัดสตาร์ทออนไลน์ผ่านเวบไซต์
- ออกรายงานการใช้รถประจำวันทุกจุด
- ลองใช้งานจริงซ่อมบำรุง
- ดูกราฟการใช้ความเร็วและกราฟน้ำมัน
- ออกรายงานการใช้รถประจำวัน
- ดูการสิ้นเปลืองน้ำมันเชื้อเพลิง
- การใช้มาตรวัดเกจ
- ดูเวลาเข้าออกสถานี
- ส่องดูรถผ่านกูเกิลมุมมองถนน
- ดูฟังก์ชั่นการติดเครื่องยนต์
- ดูข้อมูลการใช้รถย้อนหลัง
- ดูการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงรายวันย้อนหลัง
- รายงานการใช้ความเร็วย้อนหลัง
- ฺฺรายงาน BreadCrumb BC1000
- รายงานเหตุการณ์ EV1000
- รายงานการเติมน้ำมันเชื้อเพลิง
- Miscellaneous
- About us
วันอังคารที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2558
วันอังคารที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2558
แจ้งเตือนเมื่อมียานพาหนะเคลื่อนที่เข้ากรอบพื้นที่ ตอนที่ 1
สวัสดีกันอีกครั้งหนึ่งสำหรับเวบบล็อกดี ๆ ของคนทำจีพีเอสติดตามรถยนต์ ผ่านการอัพเดทกันเป็นประจำสม่ำเสมอเพื่อเป็นการแนะนำขั้นตอนการใช้งานซอฟต์แวร์ระบบติดตามรถยนต์ให้ได้เต็มที่และมีประสิทธิภาพสูงสุด สำหรับเนื้อหาในวันนี้จะค่อนข้างซีเรียสนิดหน่อยเพราะมีหลากหลายคำถามจากลูกค้าที่ใช้งานซอฟต์แวร์ระบบติดตามรถยนต์ว่า หากยานพาหนะมีการวิ่งเข้าออกพื้นที่จะต้องการให้แจ้งเตือนสามารถทำได้ไหม หากทำได้ต้องทำยังไง
เนื้อหาในวันนี้จะเป็นการนำเสนอขั้นตอน "แจ้งเตือนเมื่อมียานพาหนะเคลื่อนที่เข้ากรอบพื้นที่" ผู้เขียนจะขอแบ่งเนื้อหาออกเป็น 2 หัวเรื่องด้วยกันดังต่อไปนี้
เรื่องแรก วิธีการตั้งค่ากรอบพื้นที่ ก็คือการสร้างขอบเขตพื้นที่หรือโซนพื้นที่ เช่น เฉพาะพื้นที่จังหวัดนนบทุรีเป็นต้น
เรื่องที่สอง วิธีการสร้างเหตุการณ์ในการแจ้งเตือน รวมถึงวิธีการแจ้งเตือนสำหรับเนื้อหาในตัวอย่างจะเป็นการแจ้งเตือนผ่านอีเมลล์ เมื่อพร้อมกันแล้วเราไปดูวิธีการตั้งค่ากรอบพื้นที่กันว่าสามารถทำได้ยังไง
ขั้นตอนที่ 1 เมื่อล็อกอินเข้าสู่ระบบได้แล้วให้เลือกไปที่ กรอบพื้นที่ บริเวณหน้าต่างด้านล่างของแผนที่
ขั้นตอนที่ 2 จะปรากฏหน้าต่างใหม่ขึ้นมาให้เลือกไปที่ Geofence mode
ขั้นตอนที่ 3 จากนั้นให้เลือกไปที่ New polygon หรือกรอบพื้นที่แบบหลายเหลี่ยม
ขั้นตอนที่ 4 เลือกไปที่แผนที่จากนั้นทำการล้อมกรอบพื้นที่ อาจจะเลือกเฉพาะพื้นที่โรงงาน หรือพื้นที่ในเขตกรุงเทพมหานคร อันนี้สามารถลากเข้าออกขยับเม้าส์ได้สะดวกตามแต่ความต้องการ ปรับเปลี่ยนแก้ไขได้ในอนาคต
สรุปได้ว่าการสร้างกรอบพื้นที่สามารถทำได้ตามตัวอย่างขั้นต้น สำหรับเนื้อหาสำหรับการแจ้งเตือนจะยกยอดไปเขียนอีกในอีกหนึ่งบทความ แจ้งเตือนเมื่อยานพาหนะเคลื่อนที่เข้ากรอบพื้นที่ ตอนที่ 2 เพราะเนื้อหาหากยืดยาวเกินไปก็อาจทำให้เกิดความล้าในการทดลอง อย่างไรก็ตามประโยชน์จากการใช้งานระบบติดตามรถยนต์จะยังคงอัพเดทเรื่องราวดี ๆอยู่สม่ำเสมอ เพื่อให้การใช้งานซอฟต์แวร์ของเราเต็มประสิทธิภาพสูงสุด สำหรับตัวอย่างที่ผู้เขียนกำลังทดสอบนบทความนี้ต้องยกประโยชน์ให้กับอุปกรณ์ Ruptela FM-Eco4+ สินค้ายุโรปนำเข้าจากผู้ผลิตโดยตรงมั่นใจได้ทั้งคุณภาพของสินค้าและบริการหลังการขาย
เนื้อหาในวันนี้จะเป็นการนำเสนอขั้นตอน "แจ้งเตือนเมื่อมียานพาหนะเคลื่อนที่เข้ากรอบพื้นที่" ผู้เขียนจะขอแบ่งเนื้อหาออกเป็น 2 หัวเรื่องด้วยกันดังต่อไปนี้
เรื่องแรก วิธีการตั้งค่ากรอบพื้นที่ ก็คือการสร้างขอบเขตพื้นที่หรือโซนพื้นที่ เช่น เฉพาะพื้นที่จังหวัดนนบทุรีเป็นต้น
เรื่องที่สอง วิธีการสร้างเหตุการณ์ในการแจ้งเตือน รวมถึงวิธีการแจ้งเตือนสำหรับเนื้อหาในตัวอย่างจะเป็นการแจ้งเตือนผ่านอีเมลล์ เมื่อพร้อมกันแล้วเราไปดูวิธีการตั้งค่ากรอบพื้นที่กันว่าสามารถทำได้ยังไง
ขั้นตอนที่ 1 เมื่อล็อกอินเข้าสู่ระบบได้แล้วให้เลือกไปที่ กรอบพื้นที่ บริเวณหน้าต่างด้านล่างของแผนที่
ขั้นตอนที่ 2 จะปรากฏหน้าต่างใหม่ขึ้นมาให้เลือกไปที่ Geofence mode
ขั้นตอนที่ 3 จากนั้นให้เลือกไปที่ New polygon หรือกรอบพื้นที่แบบหลายเหลี่ยม
ขั้นตอนที่ 4 เลือกไปที่แผนที่จากนั้นทำการล้อมกรอบพื้นที่ อาจจะเลือกเฉพาะพื้นที่โรงงาน หรือพื้นที่ในเขตกรุงเทพมหานคร อันนี้สามารถลากเข้าออกขยับเม้าส์ได้สะดวกตามแต่ความต้องการ ปรับเปลี่ยนแก้ไขได้ในอนาคต
4.1 ให้กำหนดจุดแบบหลายเหลี่ยมบนแผนที่(polygon) การกำหนดกรอบพื้นที่นี้สามารถปรับเปลี่ยนโดยการเลื่อนเม้าส์ที่ขอบรูป
4.2 ให้ตั้งชื่อ Inside_alarm และให้ทำการกดบันทึกเป็นอันสิ้นสุดกระบวนการตั้งค่ากรอบพื้นที่
4.3 ให้เลือกที่ขั้นสูง--> New เป็นการสร้าง tag ใหม่สำหรับส่งค่าพารามิเตอร์ไปยังขั้นตอนการสร้างกฏเกณฑ์แนะนำให้ตั้งชื่อเป็นภาษาอังกฤษ เพื่อให้ระบบเข้าใจตัวแปรนี้ ตามตัวอย่างตั้งชื่อว่า inside_alarm
4.4 ให้เลือกที่บล็อก inside_alarm ที่ได้สร้างใหม่จากข้อ 4.3
4.5 กดบันทึก เพื่อเป็นการจัดเก็บข้อมูลที่ได้สร้างขึ้นมาในระบบ
สรุปได้ว่าการสร้างกรอบพื้นที่สามารถทำได้ตามตัวอย่างขั้นต้น สำหรับเนื้อหาสำหรับการแจ้งเตือนจะยกยอดไปเขียนอีกในอีกหนึ่งบทความ แจ้งเตือนเมื่อยานพาหนะเคลื่อนที่เข้ากรอบพื้นที่ ตอนที่ 2 เพราะเนื้อหาหากยืดยาวเกินไปก็อาจทำให้เกิดความล้าในการทดลอง อย่างไรก็ตามประโยชน์จากการใช้งานระบบติดตามรถยนต์จะยังคงอัพเดทเรื่องราวดี ๆอยู่สม่ำเสมอ เพื่อให้การใช้งานซอฟต์แวร์ของเราเต็มประสิทธิภาพสูงสุด สำหรับตัวอย่างที่ผู้เขียนกำลังทดสอบนบทความนี้ต้องยกประโยชน์ให้กับอุปกรณ์ Ruptela FM-Eco4+ สินค้ายุโรปนำเข้าจากผู้ผลิตโดยตรงมั่นใจได้ทั้งคุณภาพของสินค้าและบริการหลังการขาย
แจ้งเตือนเมื่อมียานพาหนะเคลื่อนที่เข้ากรอบพื้นที่ ตอนที่ 2
เนื้อหาครั้งที่แล้วสำหรับการ แจ้งเตือนเมื่อมียานพาหนะเคลื่อนที่เข้ากรอบพื้นที่ ตอนที่ 1 ผู้เขียนได้กล่าวถึงขั้นตอนการสร้างกรอบพื้นที่ไปแล้ว สามารถกลับไปทบทวนหรือทดสอบการสร้างตามลิงค์ด้านบนที่ผู้เขียนแปะไว้ให้ เนื้อหาในวันนี้จะเป็นการต่อจากเรื่องที่แล้ว เป็นการแจ้งเตือนเมื่อมียานพาหนะเคลื่อนที่เข้ากรอบพื้นที่ ตอนที่ 2 เรื่องราวจะเป็นยังไง จะสามารถทำได้ไหมเราไปติดตามกันเลย
ขั้นตอนที่ 1 เลือกไปที่เมนู กฎเกณฑ์เหตุการณ์ จากนั้นจะปรากฏหน้าต่างใหม่ตามขั้นตอนต่อไป
ขั้นตอนที่ 2 หลังจากมีหน้าต่างใหม่ขึ้นมา ให้เลือกไปที่ เพิ่มกฎเกณฑ์เหตุการณ์ใหม่ ท้าวความกันนิดนึง กฎเกณฑ์เหตุการณ์หรือภาษาอังกฤษเรียกว่า event rule เป็นระบบการตั้งเงื่อนไขเพื่อแจ้งเตือน ไม่ว่าจะเป็นทางช่องทาง e-mail, sms หรือ ใช้เฉพาะออกรายงาน จะมีประโยชน์มากสำหรับการตรวจสอบยานพาหนะ ยกตัวอย่างเช่น ตั้งเตือนการขับรถเร็วเกินกว่ากำหนด ตั้งเตือนการขับรถออกนอกพื้นที่ หรือตั้งเตือนเมื่อมีการถอดอุปกรณ์จีพีเอสติดตามรถยนต์ออก เป็นต้น
ขั้นตอนที่ 3 จากนั้นจะมีวินโดร์ wizard ขึ้นมาให้เราดำเนินการทีละขั้นตอนโดยละเอียดเพื่อไม่ให้เกิดข้อผิดพลาดในการดำเนินการ ในการตั้งชื่อและคำอธิบาย ตามตัวอย่างให้ใช้ชื่อว่า inside_alarm
ขั้นตอนที่ 4 เป็นการกำหนดว่าจะให้ตั้งเตือนยานพาหนะคันใดในระบบ มีความสัมพันธ์กับ tag เพราะกฎเกณฑ์ข้อนี้ต้องใช้งานร่วมกับ tag เท่านั้น บางครั้งการไม่อัพเดท tag ให้ตรงกับข้อมูลปัจจุบันจะมีโอกาสไม่ให้การตั้งเตือนทำงานได้ค่อนข้างมาก
ขั้นตอนที่ 5 กล่าวถึงในส่วนของกฎเกณฑ์กิจกรรมกำหนดการหรือตารางการตรวจสอบ เราสามารถกำหนดได้ละเอียดเป็นรายชั่วโมงในแต่ละวัน ตามตัวอย่างแนะนำให้ตั้งค่าเป็น Always active
ขั้นตอนที่ 6 เป็นการกำหนดเงื่อนไขการตรวจสอบ จัดได้ว่าเป็นขั้นตอนที่สำคัญที่สุดสำหรับเนื้อหาในวันนี้ ให้เลือกไปที่ Geofence Expression เพราะเป้าหมายคือการแจ้งเตือนเมื่อมียานพาหนะเคลื่อนที่เข้ากรอบพื้นที่ ตามที่เราได้ออกแบบไว้แล้วในบทความ แจ้งเตือนเมื่อมียานพาหนะเคลื่อนที่เข้ากรอบพื้นที่ ตอนที่ 1
ขั้นตอนที่ 7 ถึงขั้นตอนให้กำหนดว่าหากมีการเคลื่อนที่เข้าในกรอบพื้นที่ให้มีการแจ้งเตือน ตรงส่วนนี้ให้เลือก Inside ในทางตรงกันข้างหากต้องการแจ้งเตือนว่ามีการออกนอกกรอบพื้นที่ก็ให้เปลี่ยนเป็น Outside แทน ส่วนเหตุการณ์ให้เตือนในทันทีเลือกไปที่ Immediate event
[EVENT_TIM] หมายถึงวันเวลาที่เกิดเหตุการณ์
Notify Start หมายถึงแจ้งเตือนเมื่อมีเหตุการณ์ครั้งแรก
ต้องการให้แจ้งเตือนแบบใดหรือใครเป็นผู้รับแจ้ง ตรงช่องนี้ให้เลือกเป็น Email สำหรับผู้รับแจ้ง Recipients ก็ระบุไปยังโอเปอเรเตอร์ที่มีหน้าที่ดูแลแอพพลิเคชั่นนี้ในโรงงาน หรือแอคเค้าท์ที่ใช้ตรวจสอบยานพาหนะ เลือกเป็น Inside Alarm หัวข้อ Subject เลือกเป็นชื่อ [GEOFENCE_NAME] [USER_NAME] และเลือกการเตือนแบบ Notify Start หรือเตือนเมื่อเริ่มต้น ส่วนหัวข้อต่อไปไม่ต้องเลือกกดต่อไปจนสามารถกด Save ได้เป็นอันสิ้นสุดขั้นตอน
ขั้นตอนที่ 8 ผลการทดสอบเมื่อมีการเคลื่อนที่ยานพาหนะเข้าออกกรอบพื้นที่ที่ได้ตั้งค่าไว้ตั้งแต่ตอนต้นตามตัวอย่างข้อความที่ได้รับจริงจากระบบ เป็นการเปิดอ่านจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ตามที่ได้เขียนกฎเกณฑ์ทดสอบ พบว่าการทำงานเป็นไปได้สวย
ค่อนข้างซับซ้อนพอควรสำหรับการสร้างเหตุการณ์สำหรับแจ้งเตือน หรือการตั้งเตือนตามเงื่อนไขต่าง ๆ แต่ก็นั่นแหล่ะครับ เนื้อหาเหล่านี้ทำให้ความสามารถของซอฟต์แวร์จีพีเอสยานยนต์เหนือกว่าค่ายอื่น ๆในท้องตลาดนะเวลานี้ทีเดียว ซอฟต์แวร์ของเราทำงานได้จริง ติดตามรถยนต์ได้จริง แจ้งเตือนได้จริง ดูข้อมูลการใช้งานย้อนหลังได้จริง ดูการติดตามแบบเรียลไทม์จริง อุปกรณ์มีความแม่นยำจริง มีคุณภาพดีจริง แต่ราคาถูกจริง
ผู้เขียนต้องขอขอบคุณ อุปกรณ์ Ruptela FM-Eco4+ โดดเด่นในด้านความทนทาน มาตรฐานในด้านคุณภาพ นำเข้าจากยุโรปโดยตรง ผ่านมาตรฐานจากองค์กรชั้นนำทั่วโลก รับรองว่าไม่มีผิดหวังสำหรับยี่ห้อนี้ รุ่นนี้
ขั้นตอนที่ 1 เลือกไปที่เมนู กฎเกณฑ์เหตุการณ์ จากนั้นจะปรากฏหน้าต่างใหม่ตามขั้นตอนต่อไป
ขั้นตอนที่ 2 หลังจากมีหน้าต่างใหม่ขึ้นมา ให้เลือกไปที่ เพิ่มกฎเกณฑ์เหตุการณ์ใหม่ ท้าวความกันนิดนึง กฎเกณฑ์เหตุการณ์หรือภาษาอังกฤษเรียกว่า event rule เป็นระบบการตั้งเงื่อนไขเพื่อแจ้งเตือน ไม่ว่าจะเป็นทางช่องทาง e-mail, sms หรือ ใช้เฉพาะออกรายงาน จะมีประโยชน์มากสำหรับการตรวจสอบยานพาหนะ ยกตัวอย่างเช่น ตั้งเตือนการขับรถเร็วเกินกว่ากำหนด ตั้งเตือนการขับรถออกนอกพื้นที่ หรือตั้งเตือนเมื่อมีการถอดอุปกรณ์จีพีเอสติดตามรถยนต์ออก เป็นต้น
ขั้นตอนที่ 3 จากนั้นจะมีวินโดร์ wizard ขึ้นมาให้เราดำเนินการทีละขั้นตอนโดยละเอียดเพื่อไม่ให้เกิดข้อผิดพลาดในการดำเนินการ ในการตั้งชื่อและคำอธิบาย ตามตัวอย่างให้ใช้ชื่อว่า inside_alarm
ขั้นตอนที่ 4 เป็นการกำหนดว่าจะให้ตั้งเตือนยานพาหนะคันใดในระบบ มีความสัมพันธ์กับ tag เพราะกฎเกณฑ์ข้อนี้ต้องใช้งานร่วมกับ tag เท่านั้น บางครั้งการไม่อัพเดท tag ให้ตรงกับข้อมูลปัจจุบันจะมีโอกาสไม่ให้การตั้งเตือนทำงานได้ค่อนข้างมาก
ขั้นตอนที่ 5 กล่าวถึงในส่วนของกฎเกณฑ์กิจกรรมกำหนดการหรือตารางการตรวจสอบ เราสามารถกำหนดได้ละเอียดเป็นรายชั่วโมงในแต่ละวัน ตามตัวอย่างแนะนำให้ตั้งค่าเป็น Always active
ขั้นตอนที่ 6 เป็นการกำหนดเงื่อนไขการตรวจสอบ จัดได้ว่าเป็นขั้นตอนที่สำคัญที่สุดสำหรับเนื้อหาในวันนี้ ให้เลือกไปที่ Geofence Expression เพราะเป้าหมายคือการแจ้งเตือนเมื่อมียานพาหนะเคลื่อนที่เข้ากรอบพื้นที่ ตามที่เราได้ออกแบบไว้แล้วในบทความ แจ้งเตือนเมื่อมียานพาหนะเคลื่อนที่เข้ากรอบพื้นที่ ตอนที่ 1
ขั้นตอนที่ 7 ถึงขั้นตอนให้กำหนดว่าหากมีการเคลื่อนที่เข้าในกรอบพื้นที่ให้มีการแจ้งเตือน ตรงส่วนนี้ให้เลือก Inside ในทางตรงกันข้างหากต้องการแจ้งเตือนว่ามีการออกนอกกรอบพื้นที่ก็ให้เปลี่ยนเป็น Outside แทน ส่วนเหตุการณ์ให้เตือนในทันทีเลือกไปที่ Immediate event
7.1 เลือกตัวแปร inside_alarm และเป็นการตั้งเตือนประเภท Inside หรือเข้าพื้นที่เตือน
7.2 เลือกไปที่ Imediant event หากต้องการให้มีการแจ้งเตือนทันที แต่ตามตัวอย่างป้องกันการเตือนแบบไม่ได้ตั้งใจผู้เขียนเลือกไว้ที่ Delayed event หรือรอดูเหตุการณ์ก่อนจำนวนเวลาหน่วยเป็นนาที ตามตัวอย่างรอเวลา 5 นาที
7.3 เลือกรูปแบบการแจ้งเตือนในข้อนี้ให้มีการส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์(Email)เตือนต้องเลือกไปที่ Email ส่วนผู้รับแจ้งเตือน(Recipents)ให้เลือกไปที่โอเปอเรเตอร์ตามตัวอย่างมีการแจ้งเตือนไปยังสองท่าน ก็เลือกตามเลขทะเบียนทั้งสองคัน หากมีโอเปเรเตอร์เพียงท่านเดียวก็เลือกไปที่ทะเบียนรถเพียงคันเดียว
7.4 เป็นการกำหนดหัวจดหมายอิเล็กทรอนิกส์สำหรับตามตัวอย่างผู้เขียนให้เขียนที่หัวจดหมายว่า [USER_NAME] เข้าลานจอดตั้งเจริญน้ำแข็ง
[USER_NAME] หมายถึงเลขทะเบียนรถ
7.5 ก็เป็นส่วนของการกำหนดข้อความในเนื้อหาของจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ รูปแบบที่ผู้เขียนใช้ทดสอบก็คือ [USER_NAME] เข้าลานจอดตั้งเจริญน้ำแข็ง [GEOFENCE_NAME] [EVENT_TIME] ส่วน Notify Start เป็นการกำหนดเมื่อมีการเกิดเหตุ
[GEOFENCE_NAME] หมายถึงชื่อกรอบพื้นที่ต้องการให้แสดงในข้อความ[EVENT_TIM] หมายถึงวันเวลาที่เกิดเหตุการณ์
Notify Start หมายถึงแจ้งเตือนเมื่อมีเหตุการณ์ครั้งแรก
ต้องการให้แจ้งเตือนแบบใดหรือใครเป็นผู้รับแจ้ง ตรงช่องนี้ให้เลือกเป็น Email สำหรับผู้รับแจ้ง Recipients ก็ระบุไปยังโอเปอเรเตอร์ที่มีหน้าที่ดูแลแอพพลิเคชั่นนี้ในโรงงาน หรือแอคเค้าท์ที่ใช้ตรวจสอบยานพาหนะ เลือกเป็น Inside Alarm หัวข้อ Subject เลือกเป็นชื่อ [GEOFENCE_NAME] [USER_NAME] และเลือกการเตือนแบบ Notify Start หรือเตือนเมื่อเริ่มต้น ส่วนหัวข้อต่อไปไม่ต้องเลือกกดต่อไปจนสามารถกด Save ได้เป็นอันสิ้นสุดขั้นตอน
ขั้นตอนที่ 8 ผลการทดสอบเมื่อมีการเคลื่อนที่ยานพาหนะเข้าออกกรอบพื้นที่ที่ได้ตั้งค่าไว้ตั้งแต่ตอนต้นตามตัวอย่างข้อความที่ได้รับจริงจากระบบ เป็นการเปิดอ่านจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ตามที่ได้เขียนกฎเกณฑ์ทดสอบ พบว่าการทำงานเป็นไปได้สวย
ค่อนข้างซับซ้อนพอควรสำหรับการสร้างเหตุการณ์สำหรับแจ้งเตือน หรือการตั้งเตือนตามเงื่อนไขต่าง ๆ แต่ก็นั่นแหล่ะครับ เนื้อหาเหล่านี้ทำให้ความสามารถของซอฟต์แวร์จีพีเอสยานยนต์เหนือกว่าค่ายอื่น ๆในท้องตลาดนะเวลานี้ทีเดียว ซอฟต์แวร์ของเราทำงานได้จริง ติดตามรถยนต์ได้จริง แจ้งเตือนได้จริง ดูข้อมูลการใช้งานย้อนหลังได้จริง ดูการติดตามแบบเรียลไทม์จริง อุปกรณ์มีความแม่นยำจริง มีคุณภาพดีจริง แต่ราคาถูกจริง
ผู้เขียนต้องขอขอบคุณ อุปกรณ์ Ruptela FM-Eco4+ โดดเด่นในด้านความทนทาน มาตรฐานในด้านคุณภาพ นำเข้าจากยุโรปโดยตรง ผ่านมาตรฐานจากองค์กรชั้นนำทั่วโลก รับรองว่าไม่มีผิดหวังสำหรับยี่ห้อนี้ รุ่นนี้
วันอังคารที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2558
สร้างบัญชีรายชื่อผู้ใช้ใหม่ ให้มีสิทธิ์เฉพาะกลุ่มของตัวเองเท่านั้น
ยินดีต้อนรับสู่เวบบล็อกของผู้ให้บริการระบบติดตามรถยนต์ หลังจากที่ผู้เขียนได้ส่งมอบงานไปได้สักสองสามเดือน ทางลูกค้าต้องการจัดกลุ่มอปุกรณ์ติดตามรถยนต์ ประมาณกลุ่มละ 5 เครื่องเรียงไปตามลำดับตามตัวอย่าง ในแต่ละกลุ่มมีบัญชีรายชื่อใหม่ที่สามารถมองเห็นอุปกรณ์ในกลุ่มเหล่านั้น บัญชีใหม่ต้องการชื่อ RG01, RG02, ..., RG18
ตัวอย่างที่ต้องการ
RG01 มีอุปกรณ์ที่เป็นสมาชิกในกลุ่มคือ bpn01,bpn02,bpn03,bpn04,bpn05
RG02 มีอุปกรณ์ที่เป็นสมาชิกในกลุ่มคือ bpn06,bpn06,bpn08,bpn09,bpn10
.
.
RG18 มีอุปกรณ์ที่เป็นสมาชิกในกลุ่มคือ bpn76,bpn77,bpn78,bpn79,bpn80
การดำเนินการขั้นต้นจริงๆ แล้วระบบ GPS TRACKER ของเราสามารถทำได้เพียงแต่ว่ามีขั้นตอนในการดำเนินการ และมีความสลับซับซ้อนพอสมควร ผู้เขียนจะขอแบ่งวิธีการดำเนินการเป็นขั้นตอนดังต่อไปนี้
ขั้นตอนที่ 1 เป็นการสร้างสมาชิกใหม่ RG01, RG02, ... , RG18 เป็นสมาชิกประเภทโอเปอเรเตอร์ ขณะที่สร้างให้กำหนดสมาชิกในกลุ่มใหม่ไว้เลยกลุ่มละ 5 เครื่อง ให้เลือกไปที่ Add new User
ขั้นตอนที่ 2 จากนั้นจะปรากฏหน้าต่าง User ใหม่ขึ้นมาตามรูป ให้เราทำการเลือกถัดไป จะเป็นขั้นตอนของรายละเอียด ในช่อง Username ให้ป้อนชื่อผู้ใช้ RG01 และรหัสผ่านในช่อง Password ช่องชื่อให้ใช้ชื่อเดียวกับช่อง Username ในตัวอย่างคือ RG01 เลือกข้ามไปที่ บทบาท
ขั้นตอนที่ 3 ในขั้นตอนนี้เราจะต้องกำหนดสิทธิให้กับผู้ใช้ RG01 ตามตัวอย่างให้กำหนดเป็น Operator และกำหนด Tags สิ่งที่สำคัญคือกลุ่มของอุปกรณ์ที่เป็นสมาชิกกลุ่มต้องประกอบไปด้วย bpn01, bpn02, bpn03, bpn04 และ bpn05 ตามลำดับ จากนั้นกด Save เพื่อบันทึกข้อมูล วนซ้ำกลับไปทำขั้นตอนที่ 1 ใหม่จนได้ครบ RG18
ขั้นตอนที่ 4 หลังจากเราสร้างผู้ใช้ใหม่ได้ครบทั้ง 18 ชื่อแล้วขั้นตอนต่อไปจะเป็นการสร้างสิทธิ์ให้แต่ละกลุ่ม ให้คลิกไปที่ ผู้ดูแล --> Features เลือกไปที่ Create Copy ตั้งชื่อกลุ่มใหม่เป็น RG01_Operator
จากนั้น ต้องกำหนดให้กลุ่ม RG01_Operator มีสมาชิกก็คือผู้ใช้ RG01 ตามตัวอย่าง
ขั้นตอนที่ 5 เป็นการกำหนดสิทธิ์ในการมองเห็นอุปกรณ์ในกลุ่มของตนเองเท่านั้น เลือกไปที่ ผู้ดูแล --> มุมมอง
ขั้นตอนที่ 6 หลังจากสร้างมุมมองได้ครบถ้วย เราจะลองทดสอบมุมมอง RG01_Operator ดู ให้เลือกไปที่แสดงมุมมองเปลี่ยนไปเป็น RG01_Operator
จากนั้นซอฟต์แวร์จะแสดงมุมมองเฉพาะทั้ง 5 อุปกรณ์ของ RG01_Operator ตามตัวอย่าง
ขั้นตอนที่ 7 หลังจากสร้างผู้ใช้ครบถ้วนแล้ว ให้ย้อนกลับไปแก้ไขผู้ให้ตามตัวอย่างให้เฉพาะผู้ใช้ RG01 เป็นสมาชิกของ RG01_Operator เท่านั้นเพื่อจำกัดสิทธิให้การมองเห็นกลุ่มอุปกรณ์อื่นๆ ให้ทำการยกเลิกการเป็นสมาชิกของ _Operator
จะเห็นว่าขั้นตอนทั้งหมดทำได้ไม่ยากแต่ต้องอาศัยเวลา หากมีเรื่องราวดี ๆ ที่เป็นประโยชน์เหล่านี้ทางผู้เขียนมีความยินดีเป็นอย่างยิ่งที่จะได้นำเสนอวิธีการ เพื่อนำไปใช้งานซอฟต์แวร์ระบบติดตามรถยนต์ได้เต็มที่และมีประสิทธิภาพสูงสุด
ตัวอย่างที่ต้องการ
RG01 มีอุปกรณ์ที่เป็นสมาชิกในกลุ่มคือ bpn01,bpn02,bpn03,bpn04,bpn05
RG02 มีอุปกรณ์ที่เป็นสมาชิกในกลุ่มคือ bpn06,bpn06,bpn08,bpn09,bpn10
.
.
RG18 มีอุปกรณ์ที่เป็นสมาชิกในกลุ่มคือ bpn76,bpn77,bpn78,bpn79,bpn80
การดำเนินการขั้นต้นจริงๆ แล้วระบบ GPS TRACKER ของเราสามารถทำได้เพียงแต่ว่ามีขั้นตอนในการดำเนินการ และมีความสลับซับซ้อนพอสมควร ผู้เขียนจะขอแบ่งวิธีการดำเนินการเป็นขั้นตอนดังต่อไปนี้
ขั้นตอนที่ 1 เป็นการสร้างสมาชิกใหม่ RG01, RG02, ... , RG18 เป็นสมาชิกประเภทโอเปอเรเตอร์ ขณะที่สร้างให้กำหนดสมาชิกในกลุ่มใหม่ไว้เลยกลุ่มละ 5 เครื่อง ให้เลือกไปที่ Add new User
ขั้นตอนที่ 2 จากนั้นจะปรากฏหน้าต่าง User ใหม่ขึ้นมาตามรูป ให้เราทำการเลือกถัดไป จะเป็นขั้นตอนของรายละเอียด ในช่อง Username ให้ป้อนชื่อผู้ใช้ RG01 และรหัสผ่านในช่อง Password ช่องชื่อให้ใช้ชื่อเดียวกับช่อง Username ในตัวอย่างคือ RG01 เลือกข้ามไปที่ บทบาท
ขั้นตอนที่ 3 ในขั้นตอนนี้เราจะต้องกำหนดสิทธิให้กับผู้ใช้ RG01 ตามตัวอย่างให้กำหนดเป็น Operator และกำหนด Tags สิ่งที่สำคัญคือกลุ่มของอุปกรณ์ที่เป็นสมาชิกกลุ่มต้องประกอบไปด้วย bpn01, bpn02, bpn03, bpn04 และ bpn05 ตามลำดับ จากนั้นกด Save เพื่อบันทึกข้อมูล วนซ้ำกลับไปทำขั้นตอนที่ 1 ใหม่จนได้ครบ RG18
ขั้นตอนที่ 4 หลังจากเราสร้างผู้ใช้ใหม่ได้ครบทั้ง 18 ชื่อแล้วขั้นตอนต่อไปจะเป็นการสร้างสิทธิ์ให้แต่ละกลุ่ม ให้คลิกไปที่ ผู้ดูแล --> Features เลือกไปที่ Create Copy ตั้งชื่อกลุ่มใหม่เป็น RG01_Operator
จากนั้น ต้องกำหนดให้กลุ่ม RG01_Operator มีสมาชิกก็คือผู้ใช้ RG01 ตามตัวอย่าง
ขั้นตอนที่ 5 เป็นการกำหนดสิทธิ์ในการมองเห็นอุปกรณ์ในกลุ่มของตนเองเท่านั้น เลือกไปที่ ผู้ดูแล --> มุมมอง
ขั้นตอนที่ 6 หลังจากสร้างมุมมองได้ครบถ้วย เราจะลองทดสอบมุมมอง RG01_Operator ดู ให้เลือกไปที่แสดงมุมมองเปลี่ยนไปเป็น RG01_Operator
จากนั้นซอฟต์แวร์จะแสดงมุมมองเฉพาะทั้ง 5 อุปกรณ์ของ RG01_Operator ตามตัวอย่าง
ขั้นตอนที่ 7 หลังจากสร้างผู้ใช้ครบถ้วนแล้ว ให้ย้อนกลับไปแก้ไขผู้ให้ตามตัวอย่างให้เฉพาะผู้ใช้ RG01 เป็นสมาชิกของ RG01_Operator เท่านั้นเพื่อจำกัดสิทธิให้การมองเห็นกลุ่มอุปกรณ์อื่นๆ ให้ทำการยกเลิกการเป็นสมาชิกของ _Operator
จะเห็นว่าขั้นตอนทั้งหมดทำได้ไม่ยากแต่ต้องอาศัยเวลา หากมีเรื่องราวดี ๆ ที่เป็นประโยชน์เหล่านี้ทางผู้เขียนมีความยินดีเป็นอย่างยิ่งที่จะได้นำเสนอวิธีการ เพื่อนำไปใช้งานซอฟต์แวร์ระบบติดตามรถยนต์ได้เต็มที่และมีประสิทธิภาพสูงสุด
วันอังคารที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2558
กำหนดจุดสนใจ(POI)บนแผนที่ทำยังไง
ยินดีต้อนรับสู่เวบบล็อกของผู้ให้บริการระบบจีพีเอสติดตามรถยนต์ เป็นประจำที่หากมีเรื่องราวดีๆ หรือมีคำถามจากการใช้งาน ผู้เขียนก็จะได้นำเสนอในรูปแบบบล็อกเพื่อแชร์ให้หลายๆท่านที่ต้องใช้งานด้วยกันได้ประโยชน์กันถ้วนหน้า ในครั้งที่ผู้เขียนส่งงาน GPS TRACKER ให้บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด ก็มีการนำเสนอเรื่องนี้ไปเหมือนกัน แต่เพื่อให้การสื่อสารทั้งหมดเป็นไปในทิศทางเดียวกันเราไปเริ่มต้นทำกันไปพร้อมๆกัน "กำหนดจุดสนใจ(POI) บนแผนที่ทำยังไง"
ขั้นตอนที่ 1 ให้เลือกไปที่หน้าต่างจุดสนใจตามรูป
ขั้นตอนที่ 2 หน้าต่างใหม่จุดสนใจที่เปิดขึ้นมาจะอยู่มุมด้านล้างซ้ายมือ
ขั้นตอนที่ 3 จากนั้นเลือกตำแหน่งหน้าต่างแผนที่ คลิกเม้าท์ขวา จะปรากฎดรอปดาวน์ให้เลือกว่าเพิ่มจุดสนใจ(ที่นี่)
ขั้นตอนที่ 4 จากนั้นจะปรากฏหน้าต่างใหม่ขึ้นมา ในช่อง Title/Name: ให้เพิ่มชื่อที่ต้องการสื่อว่าเป็นสถานที่ที่ต้องการเพิ่มเข้าไป คำอธิบายสามารถระบุรายละเอียดเพิ่มเติมได้ 128 ตัวอักษร Latitude: และ Longitude: จะถูกอ่านค่าเองจากแผนที่ และ Category: ให้เลือกไปที่ TPIT Customers จากนั้นกด SAVE เป็นอันสิ้นสุดกระบวนการ
สรุปว่าขั้นตอนการเพิ่มจุดสนใจดูเหมือนจะเป็นเรื่องลี้ลับแต่สามารถทำได้เองโดยไม่ยาก นอกจากนี้เรายังสามารถแก้ไขเพิ่มเติม หรือลบออกได้ด้วยตนเอง หากต้องการเนื้อหาอะไรเพิ่มเติมเกี่ยวกับการใช้งานระบบสามารถติดต่อไปยังเวบไซต์ GPS TRACKER ตามลิงค์นี้เลยครับ
ขั้นตอนที่ 1 ให้เลือกไปที่หน้าต่างจุดสนใจตามรูป
ขั้นตอนที่ 2 หน้าต่างใหม่จุดสนใจที่เปิดขึ้นมาจะอยู่มุมด้านล้างซ้ายมือ
ขั้นตอนที่ 3 จากนั้นเลือกตำแหน่งหน้าต่างแผนที่ คลิกเม้าท์ขวา จะปรากฎดรอปดาวน์ให้เลือกว่าเพิ่มจุดสนใจ(ที่นี่)
ขั้นตอนที่ 4 จากนั้นจะปรากฏหน้าต่างใหม่ขึ้นมา ในช่อง Title/Name: ให้เพิ่มชื่อที่ต้องการสื่อว่าเป็นสถานที่ที่ต้องการเพิ่มเข้าไป คำอธิบายสามารถระบุรายละเอียดเพิ่มเติมได้ 128 ตัวอักษร Latitude: และ Longitude: จะถูกอ่านค่าเองจากแผนที่ และ Category: ให้เลือกไปที่ TPIT Customers จากนั้นกด SAVE เป็นอันสิ้นสุดกระบวนการ
สรุปว่าขั้นตอนการเพิ่มจุดสนใจดูเหมือนจะเป็นเรื่องลี้ลับแต่สามารถทำได้เองโดยไม่ยาก นอกจากนี้เรายังสามารถแก้ไขเพิ่มเติม หรือลบออกได้ด้วยตนเอง หากต้องการเนื้อหาอะไรเพิ่มเติมเกี่ยวกับการใช้งานระบบสามารถติดต่อไปยังเวบไซต์ GPS TRACKER ตามลิงค์นี้เลยครับ
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)